วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Relax

คิด - ละอองฟอง
Take me to your heart - Michael Learns To Rock

Drumline

FC น้องทรัพย์นะแจ๊ะ ♥ กิ้วๆ

การปฏิบัติตนของข้าพเจ้า

การนำค่านิยมข้อ10มาใช้ปฏิบัติในชีวิตของข้าพเจ้า
    ปลูกพืชผักสวนครัวและผลไม้ไว้รับประทานเองโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเมื่อต้องการและนำไปแบ่งปันกับญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน เมื่อญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านต้องการพืชผักผลไม้มากขึ้นก็เริ่มปลูกเพิ่มมากขึ้นโดยศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับปลูก การดูแลรักษาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เมื่อผักสวนครัวและผลไม้ที่ปลูกไว้มีจำนวนมากขึ้นก็นำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

 ปลูกมะละกอไว้เพื่อรับประทานเองเมื่อมะละกอมีจำนวนมากเกินไปก็นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของครอบครัว
ปลูกมะละกอเพิ่มขึ้นเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้
ปลูกอ้อยไว้เพื่อรับประทานเอง

ค่านิยมหลักข้อ10

ค่านิยมหลักของ 12 ประการ (ข้อ10)
10.รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี


"หลักความพอประมาณ"   หมายถึง  ความพอดีพอเหมาะต่อความจำเป็นที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
"หลักความมีเหตุมีผล"  หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปตามเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
"หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว"  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
"เงื่อนไขความรู้"  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผน  และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
"เงื่อนไขคุณธรรม"  ประกอบด้วย  ความตระหนักในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน มีความเพียร  และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
พระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เศรษฐกิจพอเพียง เป็น เสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอก รองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป

ที่มา : จุฑานันทน์ บุญทราหาญ 2557 ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ออนไลน์) 
แหล่งที่มา: http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=econpayap&board=8&id=14&c=1&order=numview
คลิกๆๆ เข้าไปเยี่ยมแฟนเพจกัน...

เพลงค่านิยมหลัก 12 ประการ

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการ์ตูน Flash

ตัวอย่างการทำการ์ตูนจากโปรแกรม Flash
  

ตัวอย่าง MV ที่จัดทำด้วยโปรแกรม Flash     

FLASH

ความรู้เบื้องต้นของโปรแกรม Flash

          โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดียภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเว็คเตอร์(Vector), สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับ

ผู้ใช้(Interactive Multimedia) มีฟังก์ชั่นสำหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทำงานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับ

การเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++, C#, C#.NET, VB, VB.NET, JAVAและอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf,eps, ai, dxf, bmp, jpg, gif, png เป็นต้น

ความเป็นมาของโปรแกรม Flash
                โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บทำให้การนำเสนอทำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอบฟลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้ทำงานต่างๆ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ ี่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทรอ์เน็ต และทำงานได้กับหลายๆ แฟลทฟอร์ม (Platform)


สกุลของไฟล์จากโปรแกรม Flash (.) 
      
.swf
 ไฟล์ .swf เป็นไฟล์ที่สมบูรณ์ถูก compiled แล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้อีก
สามารถเล่นได้ในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรม Flash Player
.fla
ไฟล์ .fla เป็นไฟล์ต้นฉบับของโปรแกรม Flash โปรแกรมที่ใช้เขียน Flash
สามารถแก้ไขได้ และ compile ให้เป็นไฟล์ .swf ได้
.flv
ไฟล์ .exe เป็นไฟล์ที่ถูก compiled แล้ว เป็น Application
ซึ่งได้รวมเอาโปรแกรมเสริม (Flash Player) เข้าไว้ด้วยกันไม่สามารถแก้ไขได้
สามารถเล่นได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมเสริม

ส่วนประกอบของโปรแกรม Flash CS3
 

1. Menu Bar (เมนูบาร์) ซึ่งประกอบด้วยเมนูหลายอย่างที่จำเป็นในการสั่งงาน เช่น เมนู Window มีสำหรับแสดง และ ซ่อน เครื่องมือทุกชนิด หน้าต่างเครื่องมือที่หายไปเราสามารถมาสั่งเรียกเปิดที่นี่
 
2. Time Line (ไทม์ไลน์) มีไว้สำหรับควบคุมและกำหนดการนำเสนอผลงาน การเคลื่อนไหวต่างๆ โดยจะประกอบ ด้วยเฟรม (frame) ซึ่งจะสามารถบรรจุสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง และอื่นๆ ลงไปเพื่อให้ในช่วง เวลานั้นประกอบด้วยอะไรบ้างที่ต้องการแสดงผล เวลาสร้างงานเราจะทำการ
คำสั่งในเมนูต่างๆที่สำคัญและใช้อยู่บ่อยๆมีดังนี้
- เมนู File
- เมนู Edit
- เมนู Modify
- เมนู Window

3. Layer (เลเยอร์) คือชั้นๆต่างๆที่จะทำให้เราทำงานเป็นระบบมากขึ้น เราสามารถแยกวัตถุต่างๆ ออกจากกันให้เป็นอิสระในการแสดงผลได้ ซึ่งทำให้สะดวกและง่ายต่อการทำงาน โดยที่เลเยอร์วัตถุที่อยู่ ด้านบนนั้นจะทับวัตถุเลเยอร์ด้านล่าง หากต้องการสลับบน-ล่าง ก็เพียงให้เราคลิกค้างไว้ที่แถบเลเยอร์ แล้วลากขึ้นหรือลง
นอกจากนั้นแล้วในการทำงานกับเลเยอร์ที่ดีควรจะทำการตั้งชื่อของเลเยอร์นั้นๆไว้เพื่อให้เราสามารถกลับ
มาแก้ไขสิ่งต่างๆในเลเยอร์นั้นได้ง่ายและสะดวก ไม่เช่นนั้นแล้วหากทำงานที่ต้องมีเลเยอร์มากๆ เราจะต้องหาจนปวดหัว และการตั้งชื่อเลเยอร์ก็ควรจะสื่อกับวัตถุหรืองานต่างๆที่อยู่ในเลเยอร์นั้น เช่น เลเยอร์นั้นเป็นส่วนของพื้นหลัง เราก็ควรจะตั้งชื่อว่า background หรือ bg เป็นต้น

4. Tool Bar แถบเครื่องมือ กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุ ประกอบด้วยปุ่มเครื่องมือย่อยต่างๆ โดยแบ่งเครื่องมือเป็นหมวดๆ ได้ 5 กลุ่ม 
   - เครื่องมือเลือกวัตถุ (Selection) 
   - เครื่องมือวาดภาพ (Drawing) 
   - เครื่องมือจัดแต่งวัตถุ (Modify)
   - เครื่องมือควบคุมมุมมอง (View) 
   - เครื่องมือควบคุมสี (Color)
5. Panel (พาเนล) หน้าต่างที่ทำหน้าที่แสดง พาเนลย่อย ของโปรแกรม โดยในแต่ละ พาเนลย่อย ก็จะ ประกอบด้วยรายละอียดของการควบคุมการแสดงการปรับแต่งไว้ในตัว เช่น swatches ก็จะมีสีต่างๆ มากมายให้เลือกใช้ในการปรับแต่งสี

  

6. Stage (สเตจ) คือพื้นที่ที่เรากำหนดขอบเขตขนาดของการทำงาน ซึ่งเราสามารถตั้งค่าหรือปรับได้ที่ Properties โดยกดที่ปุ่มที่มีค่า 550x400 จะได้หน้าต่างขึ้นมา


ในหน้าต่างนี้เราสามารถตั้งชื่อของงาน ระบุเนื้อหารายละเอียด ความกว้างและสูง สีพื้นหลัง frame rate ได้ตามความเหมาะสมกับงาน โดยก่อนเริ่มทำงานควรจะวางแผนในการกำหนดขนาดไว้ก่อนจะดี เพราะหากมาแก้ไขขนาดภายหลังจะทำให้ยุ่งยากในการปรับตำแหน่งของวัตถุต่าง

7. Properties ไว้สำหรับกำหนดคุณสมบัติให้กับพื้นที่การทำงานและสิ่งต่างๆที่เราจะใช้งาน หากว่าเราต้องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขวัตถุไหนก็นำเมาส์ไปคลิกที่วัตถุนั้น ค่าที่ส่วน Propertiesก็ จะเปลี่ยนแปลงไป ตามวัตถุนั้น เช่น คลิกที่ตัวอักษร ก็จะสามารถเปลี่ยนเรื่องฟ้อนท์ , สี . ขนาด และอื่นๆ




ที่มา : นายสิทธิชัย ทิพย์สิงห์ 2557 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Flash (ออนไลน์)
แหล่งที่มา : http://www.kroojan.com/flash/content/flash-intro.html  3 ธันวาคม พ.ศ.2557